กรุงโซลเร่งติดตั้งเสาไฟอัจฉริยะเพื่อรองรับ EV และ Drone
รัฐบาลกรุงโซลตั้งใจที่จะดำเนินการโครงการนำร่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเสาอัจฉริยะโดยการฝังที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าและสถานีโดรนในตัวเสาแบบชนิดที่เรียกว่าพร้อมทุกอย่างในเสาไฟกันเลยทีเดียว
กรุงโซลกำลังวางแผนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเสาอัจฉริยะโดยจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเสาไฟอัจฉริยะนี้ให้อัจฉริยะมากขึ้นไปอีก รัฐบาลกรุงโซลได้ประกาศแผนการที่จะสร้างเสาอัจฉริยะ (S-poles) เพิ่มเติม 190 ต้นในสี่เขตของเมืองหลวงเกาหลีใต้ภายในสิ้นปี 2020 นี้
การเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการติดตั้งเสาไฟอัจฉริยะไปแล้ว 26 ต้นโดยรัฐบาลกรุงโซลหรือที่เรียกว่า SMG (Seoul Metropolitan Government) ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยติดตั้งแล้ว 6 แห่งรวมถึงที่โซลพลาซ่า ประตู Sungnyemun และลำธารชองเกชอนอันมีชื่อเสียงโด่งดังแห่งหนึ่ง
รูปแบบโครงสร้างพื้นฐานของกรุงโซลตอนนี้พัฒนาไปถึงขั้นใด เรามาลองอ่านบทความต่อไปนี้กันครับ
เสาไฟอัจฉริยะนี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของเมืองที่รวมสัญญาณไฟจราจร ไฟถนน โทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) และไฟรักษาความปลอดภัยไว้ด้วยกัน รัฐบาลยังติดตั้งเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม (ICT) เช่น Wi-Fi สาธารณะ กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ เซ็นเซอร์ตรวจจับด้วย IoT และโดรน เป็นต้น โครงการนำร่องใหม่นี้จะใช้เสาไฟอัจฉริยะระดับพิเศษกันเลยทีเดียว เพราะว่าจะมีมาพร้อมสถานีชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และสถานีโดรน
หลังจากทำการติดตั้งเสาไฟ 26 ต้นแล้ว รัฐบาลกรุงโซลแจ้งว่าสามารถได้เห็นไอเดียแนวทางการทำงานที่จะต่อยอดได้อีก จึงได้ออกแบบแนวทางมาตรฐานสำหรับการติดตั้งขยายเสาอัจฉริยะเพิ่มเติมอีก 190 ต้น โดยจะถูกสร้างขึ้นในเมืองอื่นๆอีกเช่นที่เมือง Guro, Dongjak, Gangdong และที่ Jongno เป็นต้น
เสาอัจฉริยะแบบกำหนดเองที่ติดตั้งกล้องวงจรปิดจะถูกติดตั้งในสวนสาธรณะ Hangang Park ด้วย เสาเหล่านี้คาดว่าจะเพิ่มความสามารถในการตอบสนองฉุกเฉินของเมืองด้วยโดยใช้หลักการ “การตรวจจับเสียงผิดปกติ” ไม่เลวเลยทีเดียวครับ
“เราจะพัฒนาฟีเจอร์ที่ต้องการใหม่ๆเหล่านี้เพื่อใช้สำหรับเมืองอัจฉริยะ ตั้งแต่การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโดรน เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในเมืองที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น”
เมื่อตรวจพบเสียงผิดปกติ กล้องวงจรปิดจะหมุนไปในทิศทางของเสียงเพื่อจับภาพ นอกจากนี้รัฐบาลกรุงโซลยังเพิ่ม “ไฟเตือนอัจฉริยะ” ที่เสาได้อีกด้วย โดยการส่งเสียงเหมือนไซเรนดังกระจายออกมา หลอดไฟที่เสาจะแจ้งเตือนเพื่อบ่งบอกถึงเหตุฉุกเฉินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับความช่วยเหลือเร็วให้ขึ้นจากคนรอบข้างได้อีกด้วย
ในช่วงครึ่งหลังของปี 2020 รัฐบาลกรุงโซลตั้งใจที่จะดำเนินการโครงการนำร่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเสาไฟอัจฉริยะเหล่านี้โดยฝังที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าและสถานีโดรน ซึ่งจะช่วยให้เมืองสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสถานีชาร์จและแปลงร่างเป็นเมืองสีเขียว รัฐบาลกรุงโซลกล่าวเพิ่มอีกว่าว่าจะพิจารณาใช้สถานีโดรนเพื่อติดตามภัยพิบัติและช่วยชีวิต
Lee Won-Mok ผู้อำนวยการทั่วไปของนโยบายเมืองอัจฉริยะของ SMG กล่าวว่า “เสาไฟอัจฉริยะเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของเมืองอัจฉริยะ ซึ่งสามารถลดต้นทุนได้ในขณะที่ปรับปรุงทัศนียภาพ ความปลอดภัย และความสะดวกสบาย เราจะทำงานเพื่อพัฒนาคุณสมบัติที่ต้องการใหม่สำหรับเมืองอัจฉริยะ ตั้งแต่การชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับโดรน เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในเมืองที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น”
เพื่อให้สามารถขยายโครงสร้างเสาไฟอัจฉริยะนี้ได้อย่างเป็นระบบทั่วทั้งเมือง กรุงโซลได้จัดทำแบบจำลองมาตรฐานเสาไฟถึง 10 แบบและแนวทางการติดตั้งและการใช้งานออกมาเป็นรุ่นมาตรฐานทั้งหมด 10 รุ่นด้วยกันโดยมีชุดฟังก์ชันควบคุมที่ยืดหยุ่นซึ่งสามารถเพิ่มหรือรวมกันได้ตามความต้องการของสภาพแวดล้อมโดยรอบ
แนวทางดังกล่าวจะรวมไปถึงแผนติดตั้งใช้งานแอปพลิเคชันติดตั้งลงบนโทรศัพท์มือถือ สำหรับบริการข้อมูลติดตามการจดจำวัตถุ (Object Recognitions) การวิเคราะห์พฤติกรรมวิถีชีวิตของคนในเมืองตามนโยบาย S-DoT (Seoul’s data collection IoT sensors) และรหัส QR ไว้สำหรับแนะทำการท่องเที่ยวในเมืองตามจุดต่างๆ เพื่อวางสร้างรากฐานสำหรับอนาคตที่จะมีเทคโนโลยีการขับขี่ยานยนต์อัตโนมัติและการสื่อสารโทรคมนาคมเชื่อมต่อกันผ่านระบบขนส่งอัจฉริยะ (C-ITS : cooperative-intelligent transport systems) และเครื่องเสาขยายจุดเพิ่มสัญญาณ 5G อีกด้วย
21 พ.ค. 2564