คุณลักษณะของเสาไฟ 3 ประเภท

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าแสงสว่างกับการดำรงชีวิตของผู้คนในสมัยนี้เป็นของคู่กัน ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่นอนหลับ ตื่นนอน เดินทางออกไปทำงาน กลับจากที่ทำงาน ทำกับข้าว หรือแม้แต่กิจวัตรสุดท้ายใน 1 วันคือการนอนก้ยังจะต้องมีแสงสว่างเป็นปัจจัยหลัก เราอาจจะคุ้นตามากที่สุดคือไฟที่อยู่ตามท้องถนน แต่ว่าคุณทราบหรือไม่ว่าใน ปัจจุบันเสาไฟส่องสว่างไม่ได้มีเพียงเสาไฟทื่อๆ แบบที่เราเคยเห็นกัน แต่ถูกพัฒนาให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น โดยมีการออกแบบให้ ประหยัด สะดวก ลดการใช้พลังงาน และในบทความนี้ก็จะขอพูดถึงนิยามของเสาไฟที่มีอยู่ในปัจจุบัน 3 รูปแบบคือ

1. นิยามระบบควบคุมไฟถนนอัจฉริยะ (Smart IoT Street Solution Definitions)

ระบบควบคุมไฟถนนอัจฉริยะคือเสาไฟส่องสว่างบนท้องถนนที่ถูกพัฒนาเพิ่มเติมให้ทันสมัยยิ่งขึ้นโดยติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ บนเสาไฟนั้นเพื่อให้รองรับตอบสนองความต้องการทางด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ (IoT) โดยผู้ดูแลระบบสามารถเข้าถึง ควบคุม รู้สถานการณ์ทำงาน รู้ตำแหน่ง ของทุกอุปกรณ์2บนเสาไฟนั้นผ่านเครือข่ายสื่อสารด้วยซอฟท์แวร์บริหารจัดการอันเป็นระบบหนึ่งเดียว และสามารถจัดเก็บบันทึกประวัติข้อมูลย้อนหลัง (Historical Data) เพื่อนำไปวิเคราะห์วางแผนการจัดการใช้พลังงานไฟฟ้าและแก้ไขปัญหาในชุมชนให้เกิดประโยชน์ต่อเมืองได้อย่างสมบูรณ์สูงสุด

อุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งถูกนำไปติดตั้งบนเสาไฟอัจฉริยะนั้นมีหลากหลายแตกต่างกันออกไปตามแต่ผู้ผลิต อาทิเช่น

1.1 บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi Access Point)

1.2 จอแสดงผลขนาดใหญ่ (LED Digital Signage)

1.3 ลำโพงกระจายเสียง (Audio Broadcast)

1.4 ตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ​ (Weather Sensor)

1.5 สัญญาณขอความช่วยเหลือ (SOS)

1.6 กล้องวงจรปิด (CCTV)

1.7 ตรวจวัดระดับน้ำ (Waterflood Sensor)

1.8 ปลั๊กจ่ายชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV Charger Station)

1.9 ปลั๊กจ่ายชาร์จโทรศัพท์มือถือ (USB Charger Port)

1.10 โคมไฟส่องสว่าง (Lamp)

1.11 รูปแบบสไตล์ของเสาไฟที่ล้ำนำสมัยกว่าแบบปัจจุบัน (Lamppost)

อุปกรณ์ดังกล่าวจะเชื่อมต่อถึงกันและเชื่อมต่อออกสู่อินเตอร์เน็ตเพื่อส่งข้อมูลไปยังแม่ข่าย (Cloud Server หรือ On-Premise Server) ซึ่งจะทำหน้าที่เก็บข้อมูลประวัติ ผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่งเช่น Wi-Fi, LAN, GSM/LTE, Fiberoptic ก็ได้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ติดตั้ง เสาไฟอัจฉริยะจะใช้พลังงานไฟฟ้าที่จ่ายให้กับอุปกรณ์ต่างๆ บนเสานี้ด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (220VAC) หรือพลังงานทดแทนจากแผงโซล่าเซลล์ก็ได้ (Solar cell Panel)ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตจะออกแบบระบบให้รองรับได้อย่างเหมาะสมและงบประมาณของผู้ซื้อ และประการสุดท้ายที่สำคัญคือเรื่องการต่อยอดพัฒนาซอฟท์แวร์ให้เปิดกว้างและเชื่อมโยงกับระบบอื่นจึงจำเป็นต้องเปิด API ซึ่งย่อมาจาก Application Programming Interface คือการเชื่อมต่อจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง เพื่อให้ซอฟต์แวร์ภายนอกเข้าถึงและอัพเดทข้อมูลนั้น ๆ ได้ แต่ยังอยู่ในขอบเขตที่ถูกกำหนดไว้ หรือจะบอกให้ง่ายขึ้นก็คือ API เป็นตัวกลางที่จะทำให้คอยรับคำสั่งต่าง ๆ ประมวลผลและกระทำข้อมูลส่งกลับคืนไปยังคนสั่งโดยอัตโนมัติ

2. ระบบควบคุมไฟถนนอัจฉริยะ (Smart IoT Street Solution Definitions) ถูกแบ่งย่อยออกเป็น 3 ชนิดด้วยกันดังต่อไปนี้

2.1 โคมไฟถนนอัจฉริยะ (Smart IoT Street Lighting)

หมายถึงเสาไฟส่องสว่างบนท้องถนนซึ่งใช้โคมไฟส่องสว่าง (Lamp) ไม่ว่าจะเป็นชนิด LED หรือ High Pressure Sodium ก็ตามโดยมีแหล่งจ่ายไฟชนิดกระแสสลับ (220VAC) ถูกติดตั้งอุปกรณ์อัจฉริยะซึ่งเรียกว่าตัวควบคุม (Smart IoT Controller) ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถเข้าถึง ควบคุม รู้สถานะการทำงานของโคมไฟเหล่านั้นผ่านเครือข่ายสื่อสาร (IoT Protocol) ชนิดไร้สายอาทิเช่น ZigBee, SigFox, LoRa, NB, GSM, LTE ตามมาตรฐานย่านความถี่อนุญาตให้ใช้งานได้โดย กสทช. เพื่อสั่งเปิด ปิด หรือหรี่ โคมไฟตามกำหนดวันเวลา หรือตามระดับความเข้มของแสงรอบนอก หรือตามวันเวลาพระอาทิตย์ขึ้นหรือตกดินหรือตามพิกัดตำแหน่ง ที่กำหนดไว้ได้โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้อาจจะติดตั้งตัวตรวจวัดการเคลื่อนไหว (Motion Sensors) หรือตัววัดแสง (Lux Sensors) เสริมเพิ่มเติมด้วยหรือไม่ก็ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานไฟฟ้าสูงสุด

2.2 โคมไฟโซล่าอัจฉริยะ (Smart IoT Solar Lighting)

หมายถึงเสาไฟส่องสว่างบนท้องถนนซึ่งใช้โคมไฟส่องสว่าง (Lamp) เป็นชนิด LED โดยมีแหล่งจ่ายไฟชนิดกระแสตรง (DC) กำเนิดจากแผงโซล่าเซลล์ (Solar Cell Panel) มีแบตเตอร์รี่สำรองเพื่อจัดเก็บประจุไฟฟ้าในช่วงกลางคืนและจ่ายให้โคมไฟส่องสว่างไปได้อย่างต่อเนื่องแม้ว่าสภาวะไร้แสงแดดหรือท้องฟ้ามืด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาตรความจุของแบตเตอร์รี่และขนาดกำลังวัตต์ของแผงโซล่าเซลล์โดยผู้ผลิต โคมไฟจะถูกติดตั้งอุปกรณ์อัจฉริยะซึ่งเรียกว่าตัวควบคุม (Smart IoT Controller) ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถเข้าถึง ควบคุม รู้สถานะการทำงานของโคมไฟเหล่านั้นผ่านเครือข่ายสื่อสาร (IoT Protocol) ชนิดไร้สายอาทิเช่น ZigBee, SigFox, LoRa, NB, GSM, LTE ตามมาตรฐานย่านความถี่อนุญาตให้ใช้งานได้โดย กสทช. เพื่อสั่งเปิด ปิด หรือหรี่โคมไฟตามกำหนดวันเวลา หรือตามระดับความเข้มของแสงรอบนอก หรือตามวันเวลาพระอาทิตย์ขึ้นหรือตกดินหรือระบุตามพิกัดตำแหน่งที่กำหนดไว้ได้โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้อาจจะติดตั้งตัวตรวจวัดการเคลื่อนไหว (Motion Sensors) หรือตัววัดแสง (Lux Sensors) เสริมเพิ่มเติมด้วยหรือไม่ก็ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานไฟฟ้าสูงสุด

2.3 เสาไฟอัจฉริยะ (Smart IoT Street Pole)

หมายถึงการนำเทคโนโลยีทั้งหมดที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนำมาประยุกต์ใช้งานร่วมกันติดตั้งลงบนเสาไฟต้นดังกล่าว ตามที่ได้อธิบายไว้ในนิยามระบบควบคุมไฟถนนอัจฉริยะ (Smart IoT Street Solution Definitions) โดยจะเลือกติดตั้งอุปกรณ์เสริมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทุกอย่างก็ได้ตามความเหมาะสมของสถานที่และงบประมาณของผู้ใช้งาน

Message us